ที่ตั้ง: สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 72120

สายพันธุ์ของอินทผลัม

บาฮี (Barhee)

โคไนซี่ (Khonaizi)

อัจวะห์ (Ajwah)

คาลาส (Khalas)

สุกการี (Sukkari)

ลูลู่ (Lulu)

อัลบาร่า (Anbarah)

ซูลตาน่า (Sultana)

ชิชิ (Shi Shi)

แซมลี่ (Zamli)

นาบุชซาอีฟ (Nabutsaif)

ฮายานี่ (Hayany)

นาวาเดอร์ (Nawader)

เมจจูล (Medjool)

อัมเอ็ดดาฮาน (Um ed dahan)

กานามี่้ (Ganami Male)

ฮัซซาวี่Hassawi

สูตรฮอร์โมนไข่

หน่อกล้วยสำคัญอย่างไร

การดูแลต้นอินทผลัม

โรคแมลงศัตรูอินทผาลัม

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

 
สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม
เริ่มใช้วันที่ 1 กันยายน 2562
Check the Visitors
Count Hits
 

เกี่ยวกับสวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนี้อเยื่อเรา

  • จำหน่ายปลีก ต้นกล้าอินทผลัมเพาะเมล็ดจากเนื้อเยื่อ
  • จำหน่ายอินทผลัมผลสด ราคาถูก
  • เราบริการให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับอินทผลัมที่เหมาะกับประเทศไทย

การปลูกอินทผลัม

การปลูกอินทผาลัม จะได้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกอะโวคาโดค่ะ ต้นอินทผาลัมจะเริ่มให้ผลครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 3 ปี อย่าเพิ่งท้อ ผู้เขียนขอแนะนำให้ทำไร่นาสวนผสมด้วยการปลูกอินทผาลัมเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีอายุยืนยาวถึงหลักร้อยปี และในพื้นที่เดียวกัน ควรปลูกพืชล้มลุก พืชหมุนเวียน หรือเลี้ยงสัตว์ให้มีรายได้หลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นรายได้หลัก รายได้เสริม เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น แม้ว่าจะรวยไม่ได้ ก็ขอให้มีความเป็นอยู่ที่สบาย มีรายได้หมุนเวียน มีเงินทุนสำรอง คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรง และหลังจากที่เราปลูกอินทผาลัมไปประมาณ 5 ปี คราวนี้ล่ะเราจะมีรายได้จากผลผลิตอินทผาลัมไปอีกหลายสิบปี ถึงรุ่นหลานกันเลย

ขอพูดถึงอินทผาลัมอีกสักนิดนะคะ ก่อนจะพาท่านผู้อ่านไปถึงขั้นตอนการปลูก เพราะเด็กๆ รุ่นใหม่จะได้รู้จักอินทผาลัมกันมากขึ้น…อินทผาลัมถือเป็นผลไม้มงคล ซึ่งหมายถึง ผลไม้ของพระอินทร์ เป็นการผสมคำจากภาษาบาลีและสันสกฤตค่ะ หลายคนคงรู้สึกว่า ชื่อแปลกจากภาษาไทยไปบ้าง คำว่า ‘อินฺท’ (inda) ในภาษาบาลีหรือ ‘อินฺทฺร’ (indra) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง พระอินทร์ ผสมกับคำว่า ‘ผลมฺ’ (phalam) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ผลไม้ จึงได้ชื่อว่า ‘อินทผาลัม—ผลไม้ของพระอินทร์’ นับว่าอินทผาลัมเป็นผลไม้ที่มีตำนาน มีความเชื่อทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวพันมากกว่าผลไม้อื่นๆ และรสชาติของอินทผาลัมก็หวานขั้นเทพนะคะ ที่เปรียบเปรยแบบนี้ ก็เพราะอินทผาลัมหวานฉ่ำตามธรรมชาติ อร่อยตามธรรมชาติ เมื่อนำมาแปรรูป ก็ไม่ต้องปรุงแต่งรสใดๆ และได้รสชาติที่อร่อยลงตัวจริงๆ ที่สำคัญ อร่อยทุกสายพันธุ์ค่ะ

สายพันธุ์อินทผาลัม

  1. พันธุ์คาลาส (khalas) จัดอันดับความนิยมได้อันดับต้นๆ มีต้นกำเนิดในประเทศซาอุดิอาระเบียสายพันธุ์นี้ นิยมรับประทานผลสุก ผลมีสีเหลือง ลักษณะผลยาว รสชาติหวาน นุ่ม และหอม ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
  2. พันธุ์โคไนซี่ คูไนซี่ (Khunaizi, Khonaizi) ผลมีสีแดงเข้ม รสหวาน รับประทานผลที่เริ่มสุก จะได้รสชาติที่อร่อยมาก ไม่มีเสี้ยน ผลมีขนาดกลาง พบปลูกมากที่สุดในประเทศโอมาน เป็นพันธุ์ที่ทนร้อน ทนแล้งได้ดีมาก
  3. พันธุ์บาฮี (Barhi) เป็นอินทผาลัมสายพันธุ์เดียวในโลกที่ผลดิบที่หวาน รับประทานได้อร่อยโดยไม่ต้องรอให้สุก ผลมีสีเหลืองนวล มีขนาดผลตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดปานกลาง
  4. พันธุ์ฮัมรี่ (Hamri) ผลสีแดงเข้ม เนื้อหนา รสชาติหวานปานกลาง เนื้อนุ่ม และมีกลิ่นหอม ถิ่นกำเนิดคือ ประเทศอียิปต์และประเทศโอมาน
  5. พันธุ์ฮาโลววี (Halawi/Halawy) เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลที่รสชาติหวานมาก ผลสีเหลืองอ่อน มีถิ่นกำเนิดมาจาก ดินแดนแห่งอารยะธรรม เมโสโปเตเมีย(ระหว่างซีเรียกับอิรัก)
  6. พันธุ์ชิบีบี (shebebi) ผลกลม ขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ สีเหลือง เนื้อผลหนา เมล็ดกลม รสชาติหวานปานกลาง และมีเสี้ยนไม่มาก กำเนิดในประเทศซาอุดิอาระเบีย
  7. พันธุ์อัมเบอร์ (Amber) เป็นอินทผาลัมสีแดงส้ม ที่มีขนาดผลใหญ่ เนื้อหนา รสหวานและเสี้ยนน้อย ต้นกำเนิด คือประเทศโอมาน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรท
  8. พันธุ์ ฮิลาลี่ (Hilali) ผลสีเหลือง ขนาดกลาง อินทผาลัมสายพันธุ์นี้อร่อยมาก

ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ก่อนทำการปลูกอินทผาลัม

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสม

  • ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอินทผาลัมมากที่สุด คือดินร่วนปนทราย
  • มีระบบระบายน้ำได้ดีและมีอากาศถายเทได้สะดวก
  • ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว
  • ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีสารพิษหรือสารเคมีเจือปน
  • อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะอินทผาลัมต้องการน้ำมากเพื่อผลิตผลที่ดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งและฤดูหนาว ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

สภาพอากาศและอุณหภูมิที่เหมาะสม

  • อินทผาลัมต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน และต้องได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง
  • อุณหภูมิที่สามารถปลูกอินทผาลัมได้เริ่มตั้งแต่ 7 ถึง 38 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 32 องศาเซลเซียส

หมายเหตุ

  • อุณหภูมิที่สูงตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของอินทผาลัมลดลง
  • อินทผาลัมสามารถทนต่อสภาพอากาศหนาวเย็นได้ในช่วงสั้นๆ เพราะอินทผาลัมจะหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราวในสภาวะอุณหภูมิต่ำ

ฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูกอินทผาลัม

  • ช่วงต้นฤดูฝน แต่ถ้าสามารถติดตั้งระบบการให้น้ำในสวนได้ ก็สามารถที่จะปลูกอินทผลัมได้ทุกฤดูกาล

การเลือกต้นพันธุ์ที่เหมาะสม

  • อินทผาลัมเป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวเมียและดอกตัวผู้แยกอยู่กันคนละต้นกัน การปลูกอินทผาลัมให้ได้ผลผลิตที่ดี จำเป็นต้องปลูกทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมียไว้ในพื้นที่เดียวกัน ต้นอินทผาลัมตัวผู้สายพันธุ์ที่ดี 1 ต้น ต่อตัวเมีย 40 ถึง 50 ต้น

ขั้นตอนการปลูกอินทผาลัม

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์อินทผาลัมสามารถทำได้ 3 วิธี คือ การเพาะจากเมล็ด การแยกหน่อจากต้นแม่ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

วิธีที่1 การเพาะจากเมล็ด
ข้อดีของการเพาะจากเมล็ดคือ

  • ขยายพันธุ์ได้ปริมาณมากและรวดเร็ว
  • มีต้นทุนต่ำกว่าวิธีอื่น

ข้อเสียของการเพาะจากเมล็ดคือ

  • ไม่สามารถทราบเพศของต้นอินทผาลัมได้ ต้องรอจนต้นออกดอก
  • คุณภาพผลอินทผาลัมก็จะไม่เหมือนกับต้นแม่ เนื่องจากการผสมเกสรข้ามต้น คุณภาพของผลอินทผาลัม ขนาดและรสชาติด้อยลง หรืออาจจะใกล้เคียงต้นแม่พันธุ์เดิม

วิธีการเพาะเมล็ดอินทผาลัม

      1. ล้างทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ ให้เยื่อหุ้มเมล็ดหลุดออกให้หมด ผลแบบกินแห้งจะล้างทำความสะอาดได้ยากกว่าเมล็ดแบบกินสด เนื่องจากมีน้ำตาลเกาะอยู่ที่เมล็ดมาก สามารถผสมน้ำยาล้างจานเพื่อให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น อาจจะต้องล้างทำความสะอาดหลายรอบสักหน่อยนะคะเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราที่เมล็ด
        2. นำเมล็ดที่ทำความสะอาดแล้ว แช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ถึง 3 วัน เปลี่ยนน้ำทุก 12 ชั่วโมง หากมีมดเกาะให้ล้างทำความสะอาดเมล็ดใหม่อีกครั้ง
      2. นำกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดมาล้างทำความสะอาด รองก้นกล่องพลาสติกด้วยกระดาษทิชชู่ไว้หนาประมาณ 3 ชั้น พรมน้ำให้ทั่วทั้งแผ่นทิชชู่ให้เปียกแต่ไม่แฉะ ถ้าแฉะเกินไปให้เทน้ำออก
      3. นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้วมาจัดเรียงในกล่องพลาสติก แล้วปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้อากาศเข้าได้และรักษาความชื้นให้คงที่
      4. นำกล่อง ไปวางไว้ในบริเวณที่มีอากาศร้อนแต่ไม่โดนแสงแดด เช่น ห้องเก็บของ ประมาณ 3 ถึง 5 วัน รากจะเริ่มงอกออกมา เมล็ดอินทผาลัมจะงอกไม่พร้อมกัน ให้ทะยอยนำออกมาเพาะ
      5. เมื่อรากงอกยาวประมาณ 1 นิ้ว ให้นำออกมาเพาะในถุงดำขนาด 4×6 นิ้ว ขึ้นไป
      6. เมล็ดที่ถูกเพาะในถุงดำ เมื่อมีอายุประมาณ 15 ถึง 20 วัน จะเริ่มออกแทงหน่อเล็กๆ ออกมา จากนั้น รอจนกระทั่งมีใบเลี้ยงแตกออกมาประมาณ 3 ใบ จึงนำไปเปลี่ยนถุงขนาดใหญ่ขึ้น
      7. เมื่อต้นกล้ามีใบขนนกประมาณ 3 ถึง 4 ใบ จึงนำไปปลูกลงดิน

วิธีที่2 การแยกหน่อจากต้นแม่
ข้อดีของการแยกหน่อคือ

  • ต้นกล้าที่ได้จะมีคุณสมบัติเหมือนต้นแม่พันธุ์ทุกประการ

ข้อเสียของการแยกหน่อคือ

  • ขยายพันธุ์ได้ช้าและน้อยกว่าการเพาะเมล็ด ปริมาณของหน่อพันธุ์ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของอินทผาลัม ด้วยค่ะ
  • ลงทุนสูง ราคาหน่อพันธุ์มีราคาสูงกว่าต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

หน่ออินทผาลัมจะเกิดขึ้นที่บริเวณซอกใบ ใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 6 ปี จึงจะนำไปปลูกได้ อินทผาลัม 1 ต้นจะให้หน่อประมาณ 20 ถึง 30 หน่อ ภายใน 15 ปีแรก โดยเฉลี่ย 3 ถึง 4 หน่อ ต่อปี ที่สามารถแยกหน่อไปปลูกได้ สายพันธุ์อินทผาลัมที่ให้หน่อดี ได้แก่ พันธุ์ซาฮิดี (Zahidi), พันธุ์เบริม (Berim) และพันธุ์ฮายานี่ (Hayani)

วิธีการแยกหน่ออินทผาลัมจากต้นแม่

  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการแยกหน่อคือช่วงเริ่มต้นของฤดูร้อน คือช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
  • เลือกใช้หน่อที่มีอายุ 3-6 ปี และมีน้ำหนักประมาณไม่เกิน 9 กิโลกรัม เพราะมีอัตราการตายน้อยกว่าหน่อเล็ก หน่ออินทผาลัมมีอยู่ 2 ประเภทคือหน่อที่เกิดด้านบน และ หน่อที่เกิดบริเวณด้านล่างแถบโคนต้น ซึ่งเชื่อกันว่าเจริญเติบโตเร็วกว่าและให้ผลผลิตที่มากกว่า
  • รดน้ำให้ชุ่มเป็นเวลาหลายวันก่อนทำการแยกหน่อ
  • ขุดดินรอบหน่อให้มีระยะห่างจากหน่อพอสมควร ใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายสิ่วขนาดใหญ่และคม ตัดแยกหน่อออกจากต้นแม่ โดยให้มีรากเหลือติดอยู่ที่หน่อไม่น้อยกว่า 2 ถึง 3 นิ้ว ไม่ควรตัดรากให้ชิดหน่อจนเกินไปและควรตัดรากให้ขาดในครั้งเดียว เพราะทำให้หน่อเกิดความบอบช้ำได้
  • จากนั้นรวบใบของหน่อมัดไว้และตัดใบทิ้งบางส่วนเพื่อลดการคายน้ำและสะดวกในการขนย้าย
  • ทาคอปเปอร์ ซัลเฟต ที่ปลายรากของหน่อและบริเวณที่แยกหน่อออกมาทั้งหน่อและต้นแม่พันธุ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆ ที่จะเข้าทำลายทางแผลที่เกิดจากการแยกหน่อ
  • นำหน่อที่แยกจากต้นแม่แล้ว มาอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำเป็นเวลา 1 ถึง 2 ปี เพื่อเพิ่มอัตราการรอด
  • ใส่ยากำจัดเชื้อราเดือนละ 2 ครั้ง
  • เมื่ออนุบาลหน่อพันธุ์ตามกำหนดเวลา และหน่อพันธุ์มีความแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ช่วงเวลาที่เหมาะในการนำหน่อที่อนุบาลไว้จนแข็งแรงแล้วมาปลูกคือช่วงต้นฤดูฝน

การไว้หน่อ

  • ควรไว้หน่อไม่เกิน 6 หน่อ ต่อ 1 ต้น เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหาร ช่วยให้หน่อแข็งแรง และต้นแม่พันธุ์คงคุณภาพและปริมาณของผลผลิตไว้ โดยกำจัดหน่อที่มีขนาดเล็กหรือหน่อที่อยู่ด้านบนออกตั้งแต่หน่อยังมีขนาดเล็กอยู่

วิธีที่3 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคือ

  • ต้นกล้าที่ได้มีคุณสมบัติเหมือนต้นแม่พันธุ์ทุกประการ ไม่กลายพันธุ์
  • ผลผลิตที่ได้จากต้นกล้าของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีคุณภาพสูงและสม่ำเสมอ
  • สามารถขยายพันธุ์ได้ปริมาณมากและรวดเร็ว
  • เหมาะสำหรับการปลูกในเชิงพาณิชย์

ข้อเสียของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อคือ

  • ลงทุนมากกว่าการปลูกด้วยเมล็ด เนื่องจากการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก จึงต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ

การดูแลต้นกล้าอินทผาลัม

การให้น้ำ

  • ในฤดูร้อน ให้รดน้ำ 1 ครั้ง ทุกๆวัน
  • ในฤดูหนาว ให้รดน้ำ 1 ครั้ง ทุกๆ 4 วัน
  • ในฤดูฝน ให้รดน้ำตามความเหมาะสม โดยตรวจเช็คสภาพผิวดินลงไป 5 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย

  • ให้ใส่ปุ๋ยคอกปีละ 1 ครั้ง ในฤดูหนาว รอบๆ โคนต้น จากนั้นพรวนดินให้ปุ๋ยผสมเข้ากันดีกับดินเดิม

การเตรียมต้นกล้า

  • เมื่อต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดออกใบขนนก 3 ถึง 4 ใบ หรือต้นกล้าที่แยกหน่อจากต้นแม่พันธุ์ ต้องเป็นหน่อที่เพาะเลี้ยงอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำประมาณ 1 ถึง 2 ปีให้แข็งแรงก่อนจึงจะนำมาลงแปลงปลูกได้

วิธีการปลูกอินทผาลัม

  • ขุดหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ลึกประมาณ 80 เซ็นติเมตร การขุดหลุมขนาดใหญ่และการเตรียมหลุมปลูกที่ดี จะทำให้อินทผาลัมเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
  • ระยะห่างระหว่างหลุมปลูก 8×8 เมตร หรือ 8×10 เมตร หรือ 10×10 เมตร สำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อยสามารถลดระยะห่างลงได้แต่ไม่ควรต่ำกว่า 7×7 เมตร เพราะเมื่ออินทผาลัมเจริญเติบโตเต็มที่ ทางใบและรากจะขยายกว้างมาก ต้องการแสงแดดอย่างเต็มที่ และอากาศที่ถ่ายเท นอกจากนี้ ยังทำให้การดูแลหลังการปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นไปได้ง่าย
  • นำดินที่ขุดขึ้นมา 3 ส่วนผสมกับป๋ยคอก 1 ส่วน รองก้นหลุมโดยเหลือพื้นที่ในหลุมปลูกให้มีขนาดเท่าถุงดำหรือกระถางที่เพาะเลี้ยงต้นกล้า หรือ นำดินที่ขุดขึ้นมาตากแดดไว้อย่างน้อย 7 วัน และนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาตากแดดด้วยเช่นกันส่วนผสมของวัสดุปลูกรองก้นหลุม มีอัตราส่วนดังนี้ :
    ดินร่วน 2 ส่วน
    ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เช่น ปุ๋ยใบก้ามปู หรือปุ๋ยละลายช้า 1 ส่วน
    ทราย ขี้เถ้าแกลบ แกลบดิบ เศษถ่านดำ ไดโลไมท์ ร็อคฟอสเฟต เพอร์ไลท์ หรือวัสดุปลูกที่สามารถระบายน้ำได้ดี 1 ส่วน
    อินทรีวัตถุ เช่น ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ หรือเศษใบไม้แห้ง 1 ส่วน ผสมทุกอย่างให้เข้ากัน แล้วใส่ลงในหลุมปลูกตามวิธีเดียวกันข้างต้น
  • นำต้นกล้าปลูกลงในหลุม กลบดินคืนให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ตลาดอินทผลัม

  • อินทผลัม หรือ อินทผาลัม จากอดีตถึงปัจจุบัน อินทผลัม”เป็นผลไม้ที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวมุสลิมจะรับประทานอินทผลัมใน เดือนรอมฎอน
    เดือนแห่งการถือศีลอด ท่านศาสดามูฮาหมัด (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) ส่งเสริมให้มุสลิมละศีลอดด้วยการรับประทานอินทผลัมกับน้ำเปล่า การรับประทาน
    อินทผลัมเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นอินทผลัมสดหรือแห้งนั้นจะอุดมประด้วยน้ำตาล ไขมัน โปรตีนและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกายอินทผลัมนั้นเมื่อรับประทาน
    เข้าไปแล้วจะดูดซึมเข้าสู่ตับอย่างรวดเร็ว และแปรสภาพเป็นพลังงานกระจายไปตามส่วนต่างๆ
    ของร่างกายได้อย่างรวดเร็วกว่าสารอาหารตัวอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นอินทผลัมสด
    ฉะนั้นอินทผลัมจึงเป็นอาหารที่แปรสภาพเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันเริ่มมีการแพร่หลายในการปลูกต้นอินทผลัมแต่ก็ไม่มีผลผลิตมากมายสัก
    เท่าไหร่นัก เพราะพึ่งจะหันมาปลูกกันเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ความต้องการของผลไม้ชนิดนี้ยังเป็นที่ต้องการของคนหมู่มาก ฉะนั้นผลผลิตจึงขาดแคลนอย
  • ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีการปลูกอินทผลัมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย แต่ยังมีผลผลิตไม่มากพอต่อความต้องการของตลาดถึงราคาจะค่อนข้างสูงแต่ผู้บริโภคก็ยังสามารถ
    ซื้อรับประทานได้เพราะผลผลิต มีน้อยตลาดที่รับ ส่วนใหญ่เป็นตลาดบนตามห้างสรรพสินค้าและ
    ผู้บริโภคที่มาสั่งจองถึงหน้าสวนจึงจัดเป็นเป็นผลไม้ทองคำขนาดต่างประเทศคนที่นำเข้ามาขาย
    บ้านเราต่ำสุด 80-2,000 บาทต่อกิโลกรัมยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการถึง
    ตอนนี้จะเริ่ม มีการปลูกอินทผลัมกันมากขึ้นแต่ยังไม่ถึงขนาดลงขายในตลาดนัด
    ตอนนี้ยังอยู่ในระดับสูง ประมาณกิโลกรัมละ 300-600 บาทเลยทีเดียว
    ถ้าผลผลิตออกเยอะจริงๆคงต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีขึ้นไป ถึงจะมีราคาลดต่ำลง
    ตลาดก็อาจจะหล่นมาล่างหน่อย แต่ ณ ตอนนี้ตลาดล่างแทบไม่มีเลยขึ้นตลาดบนหมดราคา ก็สูงเป็นที่น่าพอใจของเจ้าของสวน

ประวัติความเป็นสวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเรา

  • ขุดบ่อเตรียมจัดหาแหล่งน้ำ วันที่ 25 สิงหาคม 2561
 

 

   
  • เตรียมขุดหลุมโดยรถแม็คโคร วันที่ 14 ตุลาคม 2561

  • เตรียมพื้นที่ปลูกวางระบบน้ำ วันที่ 16 ตุลาคม 2561

  • รับอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากประเทศคูเวต วันที่ 30 ตุลาคม 2561

  • ปลูกอินทผลัมบาฮี (Barhee)เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 22 ต้น 12 มกราคม 2562

  • ปลูกเพิ่มโคไนซี่ (Khonaizi) เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 1 ต้น 31 สิงหาคม 2562

  • เริ่มแตกหน่อจากต้นแม่ จำนวน 12 ต้น เดือนสิงหาคม - 21 กันยายน 2562

 
 

 
- ปลูกเพิ่ม ฮัซซาวี่Hassawi เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 1 ต้น 27 ธันวาคม 2562
- แตกหน่อเพิ่ม ปลูกด้านบน 11 ต้น จำนวน หน่อ 15 ต้น วันที่ 4 มกราคม 2563

 
 
   
- แตกหน่อเพิ่ม ปลูกด้านล่าง 8 ต้น จำนวน หน่อ 10 ต้น วันที่ 4 มกราคม 2563

 
 
- แตกจั่น ด้านบน 9 ต้น วันที่ 22 มกราคม 2563

 
 
- ปลูกเพิ่ม จำนวน 1 ต้น กานามิ ตัวผู้พ่อพันธุ์ ขนาดสูงประมาณ 30 cm 22 มกราคม2563
- แตกจั่น ด้านล่าง 6 ต้น วันที่ 22 มกราคม 2563

 
   
- แตกจั่นเกสรตัวผู้ วันที่ 22 มกราคม 2563

 
       
-เก็บเกสรตัวผู้ เตรียมผสมเกสรตัวเมีย วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563

 
-ปลูกตัวผู้ กานามิ 1 ต้น วันที่ 22 กุมภาพันธุ์ 2563
     
-ปลูกเพิ่ม ฮัซซาวี่ Hassawi วันที่ 16 มีนาคม 2563
     
 
สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี
ที่อยู่ : 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120
082-8936-978 0828936978 สวนอินทผลัม

Not reserved

Free Web Hosting