ที่ตั้ง: สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 72120

สายพันธุ์ของอินทผลัม

บาฮี (Barhee)

โคไนซี่ (Khonaizi)

อัจวะห์ (Ajwah)

คาลาส (Khalas)

สุกการี (Sukkari)

ลูลู่ (Lulu)

อัลบาร่า (Anbarah)

ซูลตาน่า (Sultana)

ชิชิ (Shi Shi)

แซมลี่ (Zamli)

นาบุชซาอีฟ (Nabutsaif)

ฮายานี่ (Hayany)

นาวาเดอร์ (Nawader)

เมจจูล (Medjool)

อัมเอ็ดดาฮาน (Um ed dahan)

กานามี่้ (Ganami Male)

ฮัซซาวี่Hassawi

สูตรฮอร์โมนไข่

หน่อกล้วยสำคัญอย่างไร

การดูแลต้นอินทผลัม

โรคแมลงศัตรูอินทผาลัม

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

 
สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม
เริ่มใช้วันที่ 1 กันยายน 2562
Check the Visitors
Count Hits
 
 

 

การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรหัวเชื้อ
สำหรับการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยตามสูตรดั้งเดิมหรือสูตรต้นตำหรับ ตามแบบฉบับ Originalจะมีอยู่ 2 ขั้นตอนด้วยกันคือ การผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรหัวเชื้อ และ การผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรขยาย ซึ่งเหตุที่ต้องทำสูตรขยายด้วย ก็เพื่อจะเจือจางความเข้มข้นของน้ำหมักจุลินทรีย์ลงไปให้อยู่ในระดับที่ไม่มีอันตรายต่อพืชปลูกนั่นเอง ด้านวิธีการ จะเริ่มให้ความสำคัญกันตั้งแต่การเลือกใช้หน่อกล้วย ซึ่งผู้เขียนจะขอให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกใช้ต้นกล้วยมาเพื่อการผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วย ดังนี้
1. การเลือกใช้หน่อกล้วย : เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้ได้จุลินทรีย์หัวเชื้อที่ดีมีคุณภาพ โดยหลักการแล้วควรเลือกใช้
1.1. ต้นกล้วยหน่อใบแคบหรือหน่อใบดาบ โดยลักษณะเฉพาะของหน่อกล้วยแบบนี้ถ้าใครไม่เคยคลุกอยู่กับกล้วยคงจะออกอาการงงนิดๆ ว่าเป็นอย่างไร ผู้เขียนจะขอบรรยายหน่อใบแคบหรือหน่อใบดาบไว้ให้จำกันง่ายๆ ก็คือ หน่ออ่อนที่มีใบเรียวเล็ก เกิดจากโคนต้นเดิม มีขนาดอวบอ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากมีการสะสมสารอาหารไว้ในลำต้นเยอะ ซึ่งหน่อลักษณะนี้จะมีรากเยอะมาก จึงให้จุลินทรีย์หน่อกล้วยที่ดีและหน่อชิดนี้ยังหมาะต่อการนำไปขยายพันธุ์ปลูกด้วยค่ะ เพราะจะโตเร็วกว่าหน่อใบกว้างหรือหน่อตาม ที่เกิดจากต้นแม่ที่กำลังจะตกเครือ ซึ่งเป็นหน่อที่ไม่เหมาะต่อการนำไปทำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย เพราะต้นเล็ก รากน้อย และ สะสมอาหารได้น้อยและโตช้า แต่ถ้ามีการปาดหน่อสัก 3-4 ครั้งก็จะทำให้มีลำต้นอวบสมบูรณ์และมีรากเยอะขึ้นได้ค่ะ
1.2. เลือกใช้ต้นกล้วยที่มีขนาดความสูงไม่เกิน 1 เมตร โดยขุดมาทั้งเหง้ารากและดินบริเวณราก ซึ่งสาเหตุที่ให้ใช้ต้นที่มีความสูงไม่เกิน 1 เมตรนี่ ผู้เขียนเองก็ไม่กระจ่างใจเหมือนกัน แต่พอจะเข้าใจในระดับสติปัญญาของตัวเองว่าคงจะเปรียบเทียบหน่อกล้วยสูง 1 เมตรนี้ได้กับเด็กน้อยที่กำลังเจริญเติบโต จึงมีพัฒนาการต่างๆ ในร่างกายมาก หน่อกล้วยเด็กๆ นี้จึงมีสารอาหารและฮอร์โมน Auxins ที่ทำให้เจริญเติบโตทางส่วนยอดอยู่สูง เซลล์และเนื้อเยื่อกำลังขยายตัวดี และยังไม่มีการนำสารอาหารที่สะสมไว้ไปสร้างกิ่งก้านใบมาก สารอาหารจึงยังสะสมอยู่ตามลำต้นค่อนข้างสมบูรณ์ จึงเหมาะต่อการนำไปใช้ผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วยนั่นเองค่ะ
1.3. จำนวนหรือสัดส่วนของหน่อกล้วยที่จะใช้กับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลนั้นจะมีสัดส่วนเป็น หน่อกล้วย 3 ส่วน ต่อกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วนเสมอ หากต้องการใช้ในปริมาณไม่มาก ใช้หน่อกล้วยเพียง 3 กก. ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลเพียง 1 กก. หรือ ถ้าต้องการใช้ในปริมาณมากก็ปรับไปใช้หน่อกล้วยที่ อัตรา 30 กก. ต่อน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 10 กก. หรือ ถ้าต้องการใช้มากกว่านั้นก็ขยับกันไปโดยการอิงสัดส่วน 3:1 ไว้เป็นเกณฑ์หลักได้อีกเช่นกันค่ะ

การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย (ตามสูตร 3:1 )


วัสดุ - อุปกรณ์ :

1. ใช้หน่อกล้วยใบธง สูงประมาณ 1 เมตรทั้งเหง้า ต้น ใบและดินที่ติดมาด้วย จำนวน 3 กิโลกรัม (เท่ากับ 3 ส่วน)
2. กากน้ำตาล หรือ จะใช้น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลทรายแดง แทนกันก็ได้ จำนวน 1 กิโลกรัม แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำตาลทรายขาว เนื่องจากต้องผ่านการฟอกเคมี(อาจมีสารตกค้างที่ส่งผลต่อชีวิตจุลินทรีย์)และมีการขัดสีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ออกไปมาก(ไม่มีประโยชน์) และน้ำตาลทรายแดงจะให้ความหวานและสารอาหารแก่จุลินทรีย์ได้ดีที่สุด

วิธีการทำ : นำหน่อกล้วยมาหั่น สับ เป็นชิ้นๆ เล็กๆ และไม่ควรสับหยาบมากเพราะจุลินทรีย์จะย่อยได้ช้าลงจากนั้นนำไปใส่ในถังหมัก แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยกากน้ำตาล หรือ น้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลทรายแดง โดยไม่ต้องใส่น้ำ ในถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร แล้วปิดฝาหมักไว้ 7 วัน หมั่นคนทุกเช้าและเย็น เมื่อครบ 7 วันแล้ว ให้คั้นน้ำออกมาใส่ถังหรือขวดพลาสติกหรือขวดแกลลอนแล้วปิดฝาไว้หลวมๆ

วิธีการใช้ : สามารถนำไปใช้ได้ โดยไม่ต้องไปขยายเชื้อต่อ แต่ควรจะใช้ในปริมาณไม่มากและเจือจางกับน้ำในอัตราที่เหมาะสม ตามอัตรา จุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรหัวเชื้อ 20 ซีซี ผสม น้ำ เปล่า 20 ลิตรหรือจะเทียบอัตราการใช้ได้เป็น หัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ซีซี/น้ำเปล่า 1 ลิตร (จะใช้มากหรือน้อยให้นำไปปรับใช้กันตามสัดส่วน) และนำไปใช้กับพืชหรือสัตว์ได้ทันที

คำแนะนำเพิ่มเติม :

1.) หากจะนำจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรหัวเชื้อไปใช้กับพืชปลูก ควรละลายให้เจือจางก่อนนำไปใช้ทุกครั้งในอัตราจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรหัวเชื้อหรือสูตรขยาย จำนวน 1 ลิตร ต่อ น้ำ 500 ลิตร หรือ 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (ใช้อัตรานี้ในพื้นที่มีพืชปลูก) หากพื้นที่นั้นไม่มีพืชปลูกให้ใช้ในอัตราจุลินทรีย์หน่อกล้วยสูตรหัวเชื้อหรือสูตรขยาย จำนวน 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าใช้มากกว่าอัตราส่วนแนะนำ จุลินทรีย์หน่อกล้วยจะไปทำให้เซลล์พืชขยาย ตัวมากขึ้นจนพืชเหลืองและตายได้ หรือ ถ้าพืชเป็นโรคเยอะให้ในอัตราที่เยอะ ถ้าพืชเป็นโรคน้อยให้ใช้น้อย ห้ามใช้กับพืชผักที่มีขนาดเล็ก เช่น ผักชี ถ้าใช้มากจะเหลืองและตาย ในผักขนาดเล็กให้ใช้เพียง 10 ซีซีต่อ น้ำ 20 ลิตร เพราะพืชต้นเล็กๆ จะใช้น้อยลง และพืชต้นเล็กจะดูดซึมได้เร็ว เนื่องจากรากยังอยู่ตื้นรวมทั้งมีปากใบเยอะมาก ถ้าให้เยอะมากก็จะกินมาจนท้องแตกกตาย จึงไม่ควรให้เยอะ(อธิศพัฒน์,สัมมนา Start Up)
2.) ในระหว่างกระบวนการหมัก ไม่ควรปิดฝาถังหมักสนิทแน่นเกินไป ควรปิดไว้แบบพอให้มีอากาศผ่านเข้าออกได้ เพื่อป้องกันการระเบิด และ ภาชนะที่นำมาหมักไม่ควรเป็นภาชนะที่แตกได้ เช่น โอ่งดิน เพราะจะทำให้ระเบิดได้ง่าย เนื่องจากในขบวนการหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยนั้นจะเกิดก๊าซมาก จึงทำให้เกิดการระเบิดได้ง่าย
3.) ถ้านำชิ้นส่วนของพืชต่างๆ ที่ปลูกไว้ เช่น ปลูกแตงโม ก็นำชิ้นส่วนของแตงโมมาเพิ่มเติมในถังหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยก็จะได้ปุ๋ยสูตรเฉพาะทางสำหรับบำรุงพืชชนิดนั้นๆ ได้ดี เนื่องจากพืชแต่ละชนิดได้คัดเลือกสารอาหารที่จำเป็นต้องใช้ไว้ในชิ้นส่วนต่างๆ ของต้นอยู่แล้ว ดังนั้นการนำชิ้นส่วนของพืชชนิดเดียวกันไปทำปุ๋ย จึงใช้บำรุงกันเองได้ดี
4.) เนื่องจากโปรตีนพืชและสัตว์ จะใช้เวลาในการย่อยสลายไม่เท่ากัน การหมัก จึงควรแยกหมัก พืชส่วนพืช สัตว์ส่วนสัตว์
5.) นอกจากจะนำจุลินทรีย์หน่อกล้วย(สูตรหัวเชื้อ)ที่ได้ไปใช้ประโยชน์โดยตรงได้แล้ว ยังสามารถนำมาขยายให้เป็นสูตรต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการทำการเกษตรนานับประการ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำจุลินทรีย์หน่อกล้วย(สูตรหัวเชื้อ) ไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม

คุณสมบัติและการเก็บรักษา :
เก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ขวดน้ำ ถังพลาสติก แต่ไม่ใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว หรือ ภาชนะที่แตกได้ ที่สำคัญไม่ควรปิดฝาแน่น เพราะจุลินทรีย์จะทำให้เกิดก๊าซระหว่างการเก็บรักษา หากปิดฝาภาชนะแน่นจะทำให้เกิดการระเบิดได้
เขียน/เรียบเรียงโดย : มินยดา อนุกานนท์ Web Content Editor @ www.rakbankerd.com
 
ที่มา : จุลินทรีย์หน่อกล้วย สูตรหัวเชื้อ https://www.youtube.com/watch?v=f2HWOlVnIFU&t=19s
สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี
ที่อยู่ : 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120
082-8936-978 0828936978 สวนอินทผลัม

Not reserved

Free Web Hosting