ที่ตั้ง: สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 72120

สายพันธุ์ของอินทผลัม

บาฮี (Barhee)

โคไนซี่ (Khonaizi)

อัจวะห์ (Ajwah)

คาลาส (Khalas)

สุกการี (Sukkari)

ลูลู่ (Lulu)

อัลบาร่า (Anbarah)

ซูลตาน่า (Sultana)

ชิชิ (Shi Shi)

แซมลี่ (Zamli)

นาบุชซาอีฟ (Nabutsaif)

ฮายานี่ (Hayany)

นาวาเดอร์ (Nawader)

เมจจูล (Medjool)

อัมเอ็ดดาฮาน (Um ed dahan)

กานามี่้ (Ganami Male)

ฮัซซาวี่Hassawi

สูตรฮอร์โมนไข่

หน่อกล้วยสำคัญอย่างไร

การดูแลต้นอินทผลัม

โรคแมลงศัตรูอินทผาลัม

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

 
สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม
เริ่มใช้วันที่ 1 กันยายน 2562
Check the Visitors
Count Hits

ตอบปัญหาอินทผลัม

 
ที่มา : http://www.idatepalm.com/ โดยคุณวิทยา ช่ำชอง สวน I date palm
 
ที่มา : เปิด เทคนิค "ผสมเกสรอินทผลัม" จากสวนอินทผลัมปรีชาhttps://www.youtube.com/watch?v=yY909HHWuko&t=198s
ที่มา : วิธีการตอนหน่ออินทผลัม แบบบ้านๆ https://www.youtube.com/watch?v=SwWRDsiRJO0
 
ที่มา : วิธีผสมเกสรอย่างไรให้ติดดีผลดก วิธีการเล็กๆของไร่ทันใจครับ https://www.youtube.com/watch?v=MnqPiRd_QkI&t=104s
 
ที่มา : [Beat Nutrition] ประโยชน์ของอินทผาลัม (Dates) ผลไม้มหัศจรรย์ https://www.youtube.com/watch?v=xc9K50PCpH8
 
2 สูตรน้ำอินทผลัมสด : กินดี อยู่ดี กับหมอพรเทพ
  สาระน่ารู้ของอินทผลัม
          1.          อินทผลัมไม่ใช่พืชที่มีการหวงพันธุ์ จากการศึกษาเอกสารและตำรามาพอสมควร ไม่พบว่าอินทผลัมมีการหวงพันธุ์ห้ามนำออกนอกประเทศ เราสามารถสั่งต้นกล้าเนื้อเยื่อจากแล็บของประเทศแถบตะวันออกกลางมาปลูกในประเทศได้ และมีการสั่งหน่อไปปลูกในอเมริกาเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว
        2.          การขยายพันธุ์อินทผลัมทำได้ 3 วิธี คือ การเพาะเมล็ด การใช้หน่อ และการใช้เนื้อเยื่อ
                      2.1       การขยายพันธุ์โดยเมล็ดมีข้อดีคือขยายพันธุ์ได้มากและรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือการกลายพันธุ์สูงโดยให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่พอใจเพียง 10% และอินทผลัมที่เพาะโดยวิธีนี้จะไม่ใช่พันธุ์แท้ เพราะว่าไม่มีอินทผลัมที่เพาะด้วยเมล็ดสองต้นใดที่เหมือนกันเลย รวมทั้งมีโอกาสได้ตัวผู้และตัวเมียอย่างละครึ่ง การให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยช้ากว่าและปริมาณรวมทั้งความสม่ำเสมอของผลผลิตน้อยกว่าวิธีอื่น ดังนั้นการปลูกด้วยวิธีนี้ค่อนข้างเสียเวลา และพื้นที่ ชาวสวนอินทผลัมในต่างประเทศสมัยใหม่ที่ปลูกเพื่อการค้านิยมปลูกด้วยเนื้อเยื่อ
                     2.2        การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ วิธีนี้จะทำให้ได้พันธุ์แท้ โดยต้นลูกจะมีคุณสมบัติเหมือนต้นพ่อหรือแม่พันธุ์ทุกประการ และสามารถให้ผลผลิตได้ใน 2-3 ปีเท่านั้น แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือทำได้ช้าเนื่องจากปริมาณหน่อมีจำกัด บางสายพันธุ์จะให้หน่อเพียง 20 หน่อเท่านั้นตลอดอายุขัยของมัน
                     2.3       การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิธีนี้เป็นการโคลนนิ่นั่นเอง ทำให้ได้พันธุ์แท้และการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้จึงสามารถทำได้อย่างมากและรวดเร็ว ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูงและสม่ำเสมอ โดยสามารถเริ่มให้ผลผลิตภายใน 2-3 ปี ข้อเสียของวิธีนี้คือมีการลงทุนสูงในช่วงแรกเพราะต้องนำเข้าต้นพันธุ์จากต่างประเทศ
(ข้อมูลอางอิงจาก http://www.fao.org/docrep/006/Y4360E/y4360e09.htm)
            เนื่องจากการเพาะเนื้อเยื่อเป็นการโคลนนิ่ง ดังนั้นทางห้องแล็บที่ดีและมีคุณภาพจึงทำการคัดเลือกอินทผลัมสายพันธุ์ดีจากประเทศต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในสายพันธุ์นั้น ๆ มา เพื่อจะทำการผลิตอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกมาจำหน่ายให้ลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น Barhi สายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมาจากประเทศอิรัก Medjool ต้องมาจากโมร็อคโค และKhalas ต้องมาจากซาอุดิอารเบีย เป็นต้น
(ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.awm-datepalm.com/en/product/index.htm)
            3.   การนำเข้าอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อจากต่างประเทศเข้าจะต้องมีเอกสารต่าง ๆ ประกอบดังนี้
                  3.1       Invoice
                  3.2        Packing List
                  3.3        Certificate of Origin (หนังสือรับรองแหล่งกำเนิด)
                  3.4        Phttosanitary Certificate (หนังสือรับรองสุขอนามัยของพืช)
                  3.5        non-GMO Certificate (หนังสือรับรองว่าไม่ได้เป็นพืชตัดต่อพันธุกรรม) ดังนั้น    
            อินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อที่นำเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายจึงไม่ใช่พืช GMO อย่างที่มีการปล่อยข่าวอย่างแน่นอน
            4.   การนำเข้าจะต้องเสียภาษี 30% และ VAT อีก 7%
            แล็บอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่มีชื่อเสียงในเอกสารของ FAO อยู่ที่อังกฤษ ฝรั่งเศส อิสราเอล โมร็อคโค นามิเบีย แล้วก็สหรัฐอาหรับอิมิเรต (UAE) หลังจากหาข้อมูลอยู่พอสมควรเห็นว่า UAE มีแล็บอินทผลัมเนื้อเยื่ออยู่หลายแห่ง เช่น Date Palm Tissue Culture Laboratory (DPTCL) ของ UAE University (http://datepalm.uaeu.ac.ae/subpages/Laboratory.html), Green Coast Nurseries (http://www.gcnuae.com) และ Al Wathba Marionet L.L.C. (http://www.awm-datepalm.com)
            แล็บอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทั้งหลายที่มีวัตถุประสงค์ทางการค้า ส่วนมากจะให้บริการที่ดีครับ ผมเห็นเค้าก็เอาใจใส่ลูกค้าดี หรือเรียกว่าง้อลูกค้านั่นแหละครับ ปีนึงๆเค้าผลิตต้นกล้ามากมายหลายแสนต้นหรือถึงหลักล้านต้น เค้าไม่ได้ผลิตตามใบสั่งนะครับ ดังนั้นหากเรามีความพร้อมรับราคาที่เค้าจำหน่ายบวกกับค่าขนส่งและภาษีที่ต้องชำระแล้ว หากสินค้าไม่ขาดตลาด (เป็นบางสายพันธุ์และบางช่วง) หากเราโอนเงินไปแล้วท่านจะได้รับอินทผลัมเนื้อเยื่อภายใน 2-3 สัปดาห์ครับ (ช่วงนี้พันธุ์ Medjool ทางอังกฤษและอิสราเอลขาดตลาดต้องรอเป็นปี แต่หากเราสั่งเป็นต้นใหญ่ที่ออกใบขนนกเลยอิสราเอล ดังนั้นข้อมูลเรื่องการสั่งอินทผลัมต้องจองล่วงหน้าเป็นปีจึงเป็นข่าวโคมลอยครับ หากท่านผู้ใดประสงค์จะสั่งจากต่างประเทศผมรับรองได้ครับว่าภายในเกิน 1 เดือนหลังจากโอนเงินท่านจะได้รับน้องอินมาเชยชมแน่ครับ
            การจะตัดสินใจซื้ออินทผลัมเนื้อเยื่อนี่ ขอให้ซื้อจากผู้ขายที่มีที่มาที่ไปของแล็บที่ชัดเจนนะครับ ทุกวันนี้รู้หน้าไม่รู้ใจครับ ส่วนใครจะรับความเสี่ยงนั้นได้ก็สุดแล้วแต่ครับ ประเภทที่สั่งมาจากแล็บสูญญากาศหรือแล็บอวกาศที่ไม่มีตัวตน ติดต่อไม่ได้หรือติดต่อยาก และรับความเสี่ยงไม่ไหว และขอออกตัวไว้ ตั้งแต่นี้       หลังจากศึกษาหาข้อมูลมาระยะหนึ่ง ตัดสินใจสั่งอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อจาก Al Wathba Marionet L.L.C. ครับ ถึงแม้จะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าแล็บอื่น ด้วยเหตุผลดังนี้
            1.    Al Wathba Marionnet LLC เป็นบริษัทชั้นนำในด้าน bio-technology ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1979 ที่เมือง Abu Dhabi โดยความร่วมมือระหว่างฝรั่งเศสและUAE บริษัทนี้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สำคัญที่สุดในโลก โดยผลิตอินทผลัมเนื้อเยื่อพันธุ์แท้มากกว่า 14 สายพันธุ์ จากUAE ซาอุดิอาระเบีย อิรัก และโมร็อคโค บริษัทฯผลิตต้นกล้าอินทผลัมที่มีคุณภาพสูงโดยมีขบวนการผลิตที่เข้มงวด และทางบริษัทจะมีการทดสอบเนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยง เพื่อให้ไม่มีการผิดเพี้ยนจากต้นพันธุ์เดิมในทุก ๆ ขั้นตอนของการผลิต การตรวจสอบพันธุกรรมกระทำโดย G.E.V.E.S. "Group for Control and Survey of Varieties and Seeds" ของ French Ministry of Agriculture
(ข้อมูลจาก http://www.awm-datepalm.com/en/about-us/index.htm)
             2.    Al Wathba Marionnet  เป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดใน UAE ลูกค้าของบริษัทฯมีภาครัฐ องค์กรหรือเจ้าของฟาร์ม มีการดูแลสุขอนามัยที่สูง ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง มีการให้คำปรึกษาทางเทคนิค และบริการหลังการขายให้แก่ลูกค้าอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้ยังเป็นผู้สนับสนุต้นพันธุ์นให้กับเชื้อพระวงศ์ และสถานที่ราชการต่าง  ๆ อาทิเช่น Ministry of Agriculture and Fisheries, Abu Dhabi Municipality และ U.A.E. University สำหรับตลาดต่างประเทศได้เริ่มส่งออกตั้งแต่ปี 1997 จนปัจจุบันมีเครือข่ายที่เป็นตัวแทนจำหน่ายกระจายอยู่ในหลายๆประเทศทั่วโลก อาทิเช่น Kuwait, Jordan, Egypt, Namibia, Niger, Yemen และSomalia
             สำหรับการค้าขายกับ Jordan  นั้น เริ่มจากจำนวนสายพันธุ์น้อย โดยเน้นสายพันธุ์ Medjool, Deglet Noor และ Barhi ซึ่งลูกค้ารายแรกๆคือราชวงค์ของจอร์แดน โดยอินทผลัมของบริษัทได้ถูกปลูกในฟาร์มของราชวงศ์จอร์แดน เช่น His Majesty the late King Hussein, Her Royal Highness Princess Alia, and recently His Majesty King Abdullah II รวมทั้งนักธุรกิจใหญ่เช่น Mr. Sabeeh Al Masri, Mr. Sameer Kawar, Dr. Abdulla Arar เป็นต้น และในปี 1998 บริษัทได้ลงนามแต่งตั้งให้ Al Haq Farms ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้เป็นตัวแทนจำหน่าย  ซึ่งเป็นช่องทางให้บริษัทส่งต้นพันธุ์ให้แก่หน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนของจอร์แดนได้เป็นจำนวนมาก เช่น Ministry of Agriculture, Authority of the Jordan Valley, and Aqaba District Development Authority เพื่อจำหน่ายให้เอกชนจำนวนมาก โดยบริษัทจะเป็นผู้สนับสุนต้นพันธุ์สำหรับโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจาก United Nations Development program (UNDP) โดยผ่านความร่วมมือของ Ministry of Planning และตัวแทนจำหน่ายคือ Al Haq Farms.
(ข้อมูลบางส่วนจาก http://www.awm-datepalm.com/en/market/index.htm)
            รวมทั้งได้อ่านรายละเอียดของเกี่ยวกับลูกค้าที่เคยสั่งต้นอินทผลัมจากที่นี่ไปปลูกก่อนแล้วด้วย พบว่ามีทั้งราชวงศ์ของประเทศทางตะวันออกกลาง มีทั้งภาครัฐที่ดูแลเรื่องการเกษตร และเอกชนรายใหญ่ ทำให้ผมเกิดความมั่นใจ และทดลองสั่งเข้ามาปลูกเปรียบเทียบดูกับของแล็บอื่น
            ตัวอย่างลูกค้าของ Al Wathba Marionnet L.L.C
            1.          Al Humraniyah Experimental Station, Ministry of Agriculture, Ras Al Khaymah, UNITED ARAB EMIRATES
            2.          N.D.C (Namibian Development Corporation) through F.A.O (Food and Agriculture Organization of the United Nations), Windhoek, NAMIBIA
            3.          R.D.A.O (Research & Development for the Agriculture in Oases), DJIBOUTI
            4.          I.C.B.A (International Center for Biosaline Agriculture), Dubai, UNITED ARAB EMIRATES
            5.          Al Uttoriah Farms, Ministry of Agriculture, Doha, QATAR
            6.          K.I.S.R (Kuwait Institute for Scientific Research), KUWAIT
            7.         U.P.E (Union of Producers of Egypt), Ministry of Agriculture, Cairo, EGYPT
            8.          Ministry of Agriculture, BAHRAIN
            9.          I.N.R.A.A (National Institute for Agronomic Research), Alger, ALGERIA
            10.        F.A.O Niger (Food and Agriculture Organization, United Nations), Niamey, NIGER
            11.        I.C.R.I.S.A.T (International Crops Research Institute for the Semi Arid Tropics) Niamey, NIGER
            12.        I.N.R.A.N (National Institute for Agronomic Research), Niamey, NIGER
            13.        I.A.P.O (Integrated Agricultural Production in Oases), Though E.U, European Union, Puntland, SOMALIA
            14.        S.O.S Palmiers, Ministry of Agriculture, Nouakchott, MAURITANIA
(ข้อมูลจาก http://www.awm-datepalm.com/en/field-confirmation/index.htm)
 

การขยายพันธุ์อินทผลัมด้วยหน่อ

    การขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อเราเรียกว่า "การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ" ซึ่งเป็นวิธีการในการขยายพันธุ์อินทผลัมที่ใช้กันมานานแล้ว โดยอาจจะใช้มานานนับพันปี การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เราจะได้อินทผลัมพันธุ์แท้ โดยหน่อจะมีคุณลักษณะที่เหมือนต้นแม่พันธุ์ทุกประการ ผลอินทผลัมที่จะได้จากหน่อก็จะมีคุณภาพเหมือนต้นแม่พันธุ์และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ หน่อจะเกิดขึ้นที่บริเวณซอกใบ โดยอาจจะต้องใช้เวลา 4-6 ปี กว่าที่จะพร้อมในการนำไปปลูกได้ ตลอดอายุขัยของอินทผลัมจะมีหน่อประมาณ 20-30 หน่อ โดยหน่อจะทยอยเกิดขึ้นในช่วงไม่เกิน 15 ปีแรกของมัน โดยมีหน่อที่เราจะสามารถแยกไปปลูกได้ปีละ 3-4 หน่อ อินทผลัมที่ออกหน่อดีคือสายพันธุ์ Zahidi, Berim และ Hayani ส่วนสายพันธุ์ที่ให้หน่อน้อยคือ Mektoum และ Barhi ระบบรากของหน่อจากต่างจากต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ด โดยต้นกล้าจะมีรากรอบๆโคนต้น ส่วนหน่อจะไม่มีรากในบริเวณที่ติดกับต้นแม่ หลังจากเราแยกหน่อออกมาจากต้นแม่แล้ว เราจะต้องทำการเพาะเลี้ยงอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำเป็นเวลา 1-2 ปีก่อนจะนำไปปลูก
  เราสามารถที่จะเพิ่มอัตราการรอดตายของหน่ออินทผลัมได้โดยการเลือกใช้หน่อที่มีอายุ 3-6 ปี และมีน้ำหนักประมาณไม่เกิน 9 กิโลกรัม อัตราการตายของหน่อเล็กจะสูงกว่าหน่อที่โตกว่า เมื่อเราแยกหน่อออกจากต้นแม่แล้ว เราจะต้องอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำเป็นเวลา 1-2 ปี เพื่อเพิ่มอัตราการรอดตาย และต้องระมัดระวังเรื่องเชื้อราที่จะเกิดขึ้นกับหน่อ โดยจะต้องใส่ยากำจัดเชื้อราเดือนละ 2 ครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการแยกหน่อคือช่วงเริ่มต้นของฤดูร้อน คือช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน และช่วงเวลาที่เหมาะในการนำหน่อที่อนุบาลไว
จนแข็งแรงแล้วมาปลูกคือช่วงต้นฤดูฝน หน่ออินทผลัมมีอยู่ 2 ประเภทคือหน่อที่เกิดบริเวณด้านล่างแถบโคนต้นและหน่อที่เกิดด้านบน เชื่อกันว่าหน่อที่เกิดบริเวณด้านล่างจะเจริญเติบโตเร็วกว่าและให้ผลผลิตที่มากกว่าหน่อที่เกิดด้านบน 
  หน่อจะถูกกำจัดทิ้งไปตั้งแต่ยังเล็กด้วยเหตุผลหลายประการ ประการแรกเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและสะดวกในการดูแลอินทผลัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินทผลัมสายพันธุ์ Medjool จะต้องการการดูแลรักษามากเป็นพิเศษ เพื่อให้ผลอินทผลัมมีขนาดโตและมีคุณภาพดี ดังนั้นจึงต้องกำจัดหน่อทิ้งไปเพื่อไม่ให้แย่งอาหารซึ่งจะทำให้ผลอินทผลัมเล็กลง เหตุผลอีกประการหนึ่งคือการกำจัดหน่อเล็กๆออกไปโดยคงเหลือจำนวนหน่อไว้ให้เหมาะสมจะทำให้หน่อที่เหลือแข็งแรงมากกว่า โดยปกติแล้วเราไม่ควรจะไว้หน่อมากเกินกว่า 6 หน่อบนต้นแม่พันธุ์เพราะจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพของผลอินทผลัมต่ำลง รวมทั้งหน่อจะไม่แข็งแรงด้วย 
                ก่อนที่เราจะทำการขุดแยกหน่ออินทผลัม เราต้องรดน้ำให้ชุ่มก่อนเป็นเวลาหลายวัน ขุดดินบริเวณรอบๆหน่อออกโดยให้ห่างจากหน่อพอสมควร ใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายสิ่วขนาดใหญ่และคม ตัดแยกหน่อออกจากต้นแม่ โดยให้มีรากเหลือติดอยู่ที่หน่อไม่น้อยกว่า 2-3 นิ้ว ไม่ควรตัดรากให้ชิดหน่อจนเกินไปเพราะทำให้หน่อเกิดอาการบอบช้ำได้ และเพื่อให้หน่อบอบช้ำน้อยที่สุด จึงควรตัดรากให้ขาดในครั้งเดียว จากนั้นให้รวบใบของหน่อมัดไว้และตัดใบออกทิ้งบางส่วนเพื่อลดการคายน้ำและสะดวกในการขนย้าย หลังจากแยกหน่อเสร็จแล้วให้ทา Copper Sulphate ที่ปลายรากของหน่อและบริเวณที่แยกหน่อออกมาทั้งหน่อและต้นแม่พันธุ์ด้วยด้วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ สำหรับอัตราการรอดตายของหน่อจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ Deglet Noor จะมีอัตราการรอดตายสูงกว่าสายพันธุ์ Medjool ดังนั้นเราจึงต้องอนุบาลหน่อที่พึ่งแยกออกมาไว้ในเรือนเพาะชำเป็นเวลา 1-2 ให้หน่อแข็งแรงก่อนนำลงปลูก และไม่ควรนำหน่อที่พึ่งแยกออกมาลงปลูกเลยเพราะจะทำให้หน่อมีโอกาสตายสูง

  ที่มา : การขยายพันธุ์อินทผลัมด้วยหน่อ http://www.datepalm.in.th/blog/id-2.html
 

การปลูกและการดูแลรักษาอินทผลัม

1. การปลูก :  ขุดหลุมขนาด 50×50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก เวลาปลูกให้โคนต้นสูงพ้นพื้นดินประมาณ ฝ่ามือ จะทำให้ต้นโตเร็ว ระยะการปลูก   7×7 เมตร จะได้ 32 ต้นต่อไร่ อินทผลัมชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำขังน้ำแฉะ
2. การดูแลรักษา ในระยะปีที่ 1- 2
2.1 เมื่อปลูกแล้ว 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการแตกยอด เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือสูตร15-15-15   2 เดือนครั้งเพื่อให้ต้นอินทผลัมโตเร็ว หรือใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก  ปีละ 2 ครั้ง ต้นฤดูฝน – ปลายฤดูฝน โดยใส่ห่างจากลำต้น 1 ศอก
2.2 ฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำ  ฤดูแล้งควรให้น้ำทุก 7-10  วัน
2.3 ถ้าดูแลรักษาดี จะออกดอกออกผลตั้งแต่ปีที่ 3 ต้นตัวผู้จะออกดอกก่อนต้นตัวเมีย สามารถปล่อยให้ออกดอกติดผลได้เลย ไม่ต้องกลัวต้นโทรม เพราะระบบรากของอินทผลัมจะหาอาหารเก่งมาก
3. การดูแลรักษา ในระยะปีที่ 3
3.1 เป็นปีที่จะเริ่มออกดอกติดผล ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลค้างคาว มูลไก่ มูลวัว ให้ใส่ต้นฤดูฝน พอถึงเดือนตุลาคม ควรใส่ปุ๋ยสะสมอาหาร เช่น ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ถ้าพื้นที่ฝนชุก ควรใส่ปุ๋ย  0-46-60 เพื่อให้ออกดอกมาก ถ้าปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งแล้วหยุดให้น้ำ อินทผลัมจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน ของทุกปี
3.2 อินทผลัมจะมีหน่อบ้าง เมื่อบำรุงรักษาดี ในระยะ 3 ปีแรกควรตัดหนามและหน่อทิ้งเพื่อให้ต้นแม่ได้สะสมอาหาร ทำให้ติดดอกออกผลง่ายและดก แต่ถ้าต้นแม่อายุ 5 ปีขึ้นไปแล้ว สามารถปล่อยให้มีหน่อและสามารถแยกหน่อไปปลูกได้
3.3 เมื่ออินทผลัมติดดอก ควรช่วยผสมเกสร เพื่อให้ติดลูกดกกว่าการปล่อยให้ผสมเกสรตามธรรมชาติ
3.4 ควรให้น้ำบ้างเมื่อติดผล และใช้ไม้ช่วยค้ำยันทะลายอินทผลัม เพื่อไม่ให้ก้านทะลายหัก หรือย้อยลงดิน
4. การตัดแต่งใบ :    ใบอินทผลัมที่แก่และแห้งควรตัดทิ้ง เพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน การดูแลรักษา และทำให้ทรงต้นสะอาด รวมทั้งป้องกันแมลงรบกวน ปัญหา โรคและแมลงยังมีน้อยมาก
5. การเก็บเกี่ยว :
     จะดูที่สีของผลอินทผลัม ถ้าผลมีสีเหลืองเข้มมาก หรือ มีผลเริ่มสุกสีน้ำตาล 5-10% ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลจะมีลักษณะกลมรี ออกเป็นพวงหรือทะลาย  การพัฒนาของผลจะมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ  , ระยะผลสมบูรณ์เต็มที , ระยะผลสุกแก่ และ ระยะผลแห้ง  รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-8 เดือน
6. การเก็บรักษา :     หากเก็บอินทผลัมผลที่สุกแก่ไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 1 ปี
7. การผสมเกสร :    ถ้าต้นชิดกัน เรื่องการผสมเกสรจะมีแมลงและลมช่วยผสมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าอยากให้ลูกติดดกทุกเมล็ด ทุกทะลายควรช่วยผสมเกสรจะดีที่สุด
8. เทคนิคการผสมเกสรให้ติดลูกดก

- การเก็บเกสรตัวผู้ : เก็บสำรองเพื่อเอาไว้ช่วยผสมเกสร ให้ตัวเมีย ให้สังเกตเวลาที่จั่นตัวผู้ออกและแตกจะเห็นดอกข้างในเป็นดอกที่มีกลีบเป็นแฉก ๆ สีขาวให้นำถุงพลาสติกคลุมแล้วเขย่าให้ได้ละอองเกสรที่มีลักษณะเป็นฝุ่นแป้งสีขาว แล้วเก็บปิดถุงให้มิดชิดนำใส่ตู้เย็นช่องธรรมดาไว้

- สำหรับเกสรตัวเมีย : ต้นตัวเมียจะออกจั่นเหมือนต้นตัวผู้ แต่เกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ เป็นช่อ พอจั่นแตกออกก็ให้นำเกสรตัวผู้ที่เก็บไว้มาผสม โดยใช้เกสรประมาณ 1/3 ช้อนชาต่อ 1 ช่อดอก นำเกสรตัวผู้ใส่ถุงพลาสติกเขย่าให้ฟุ้งแล้วนำไปครอบช่อจั่นตัวเมีย จากนั้นให้เขย่าเพื่อให้ละอองเกสรผสมกัน ควรผสมซ้ำอีก ประมาณ 1-2 วัน สำหรับการผสมซ้ำไม่ต้องใช้เกสรมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผสมเกสรคือ ช่วงเช้า เนื่องจากอากาศจะไม่ชื้นและร้อนจนเกินไป

1. การปลูก :      ขุดหลุมขนาด 50×50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก เวลาปลูกให้โคนต้นสูงพ้นพื้นดินประมาณ ฝ่ามือ จะทำให้ต้นโตเร็ว ระยะการปลูก   7×7 เมตร จะได้ 32 ต้นต่อไร่ อินทผลัมชอบแดดจัด ไม่ชอบน้ำขังน้ำแฉะ
2. การดูแลรักษา ในระยะปีที่ 1- 2
2.1 เมื่อปลูกแล้ว 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการแตกยอด เช่น ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือสูตร15-15-15   2 เดือนครั้งเพื่อให้ต้นอินทผลัมโตเร็ว หรือใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก  ปีละ 2 ครั้ง ต้นฤดูฝน – ปลายฤดูฝน โดยใส่ห่างจากลำต้น 1 ศอก
2.2 ฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำ  ฤดูแล้งควรให้น้ำทุก 7-10  วัน
2.3 ถ้าดูแลรักษาดี จะออกดอกออกผลตั้งแต่ปีที่ 3 ต้นตัวผู้จะออกดอกก่อนต้นตัวเมีย สามารถปล่อยให้ออกดอกติดผลได้เลย ไม่ต้องกลัวต้นโทรม เพราะระบบรากของอินทผลัมจะหาอาหารเก่งมาก
3. การดูแลรักษา ในระยะปีที่ 3
3.1 เป็นปีที่จะเริ่มออกดอกติดผล ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลค้างคาว มูลไก่ มูลวัว ให้ใส่ต้นฤดูฝน พอถึงเดือนตุลาคม ควรใส่ปุ๋ยสะสมอาหาร เช่น ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ถ้าพื้นที่ฝนชุก ควรใส่ปุ๋ย  0-46-60 เพื่อให้ออกดอกมาก ถ้าปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งแล้วหยุดให้น้ำ อินทผลัมจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน ของทุกปี
3.2 อินทผลัมจะมีหน่อบ้าง เมื่อบำรุงรักษาดี ในระยะ 3 ปีแรกควรตัดหนามและหน่อทิ้งเพื่อให้ต้นแม่ได้สะสมอาหาร ทำให้ติดดอกออกผลง่ายและดก แต่ถ้าต้นแม่อายุ 5 ปีขึ้นไปแล้ว สามารถปล่อยให้มีหน่อและสามารถแยกหน่อไปปลูกได้
3.3 เมื่ออินทผลัมติดดอก ควรช่วยผสมเกสร เพื่อให้ติดลูกดกกว่าการปล่อยให้ผสมเกสรตามธรรมชาติ
3.4 ควรให้น้ำบ้างเมื่อติดผล และใช้ไม้ช่วยค้ำยันทะลายอินทผลัม เพื่อไม่ให้ก้านทะลายหัก หรือย้อยลงดิน
4. การตัดแต่งใบ :    ใบอินทผลัมที่แก่และแห้งควรตัดทิ้ง เพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน การดูแลรักษา และทำให้ทรงต้นสะอาด รวมทั้งป้องกันแมลงรบกวน ปัญหา โรคและแมลงยังมีน้อยมาก
5. การเก็บเกี่ยว :     จะดูที่สีของผลอินทผลัม ถ้าผลมีสีเหลืองเข้มมาก หรือ มีผลเริ่มสุกสีน้ำตาล 5-10% ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ผลจะมีลักษณะกลมรี ออกเป็นพวงหรือทะลาย  การพัฒนาของผลจะมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ  , ระยะผลสมบูรณ์เต็มที , ระยะผลสุกแก่ และ ระยะผลแห้ง  รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-8 เดือน
6. การเก็บรักษา :     หากเก็บอินทผลัมผลที่สุกแก่ไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 1 ปี
7. การผสมเกสร :    ถ้าต้นชิดกัน เรื่องการผสมเกสรจะมีแมลงและลมช่วยผสมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้าอยากให้ลูกติดดกทุกเมล็ด ทุกทะลายควรช่วยผสมเกสรจะดีที่สุด
8. เทคนิคการผสมเกสรให้ติดลูกดก
การเก็บเกสรตัวผู้ : เก็บสำรองเพื่อเอาไว้ช่วยผสมเกสร ให้ตัวเมีย ให้สังเกตเวลาที่จั่นตัวผู้ออกและแตกจะเห็นดอกข้างในเป็นดอกที่มีกลีบเป็นแฉก ๆ สีขาวให้นำถุงพลาสติกคลุมแล้วเขย่าให้ได้ละอองเกสรที่มีลักษณะเป็นฝุ่นแป้งสีขาว แล้วเก็บปิดถุงให้มิดชิดนำใส่ตู้เย็นช่องธรรมดาไว้
สำหรับเกสรตัวเมีย : ต้นตัวเมียจะออกจั่นเหมือนต้นตัวผู้ แต่เกสรตัวเมียจะมีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ เป็นช่อ พอจั่นแตกออกก็ให้นำเกสรตัวผู้ที่เก็บไว้มาผสม โดยใช้เกสรประมาณ 1/3 ช้อนชาต่อ 1 ช่อดอก นำเกสรตัวผู้ใส่ถุงพลาสติกเขย่าให้ฟุ้งแล้วนำไปครอบช่อจั่นตัวเมีย จากนั้นให้เขย่าเพื่อให้ละอองเกสรผสมกัน ควรผสมซ้ำอีก ประมาณ 1-2 วัน สำหรับการผสมซ้ำไม่ต้องใช้เกสรมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผสมเกสรคือ ช่วงเช้า เนื่องจากอากาศจะไม่ชื้นและร้อนจนเกินไป
  ที่มา : วิธีการปลุกพืชhttps://sites.google.com/site/intuon123hawa/withi-kar-pluk-phuch
สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี
ที่อยู่ : 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120
082-8936-978 0828936978 สวนอินทผลัม

Not reserved

Free Web Hosting