ที่ตั้ง: สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี 72120

สายพันธุ์ของอินทผลัม

บาฮี (Barhee)

โคไนซี่ (Khonaizi)

อัจวะห์ (Ajwah)

คาลาส (Khalas)

สุกการี (Sukkari)

ลูลู่ (Lulu)

อัลบาร่า (Anbarah)

ซูลตาน่า (Sultana)

ชิชิ (Shi Shi)

แซมลี่ (Zamli)

นาบุชซาอีฟ (Nabutsaif)

ฮายานี่ (Hayany)

นาวาเดอร์ (Nawader)

เมจจูล (Medjool)

อัมเอ็ดดาฮาน (Um ed dahan)

กานามี่้ (Ganami Male)

ฮัซซาวี่Hassawi

สูตรฮอร์โมนไข่

หน่อกล้วยสำคัญอย่างไร

การดูแลต้นอินทผลัม

โรคแมลงศัตรูอินทผาลัม

ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

 
สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม
เริ่มใช้วันที่ 1 กันยายน 2562
Check the Visitors
Count Hits

 

โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัม มีอยู่ไม่มากนัก และมีวิธีป้องกันกำจัดที่ไม่ยุ่งยาก หากเกษตรกรหรือผู้ปลูกอินทผาลัมละเลย ไม่ใส่ใจดูแล ก็จะทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นยาก และเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน

ขั้นตอนการป้องกันกำจัด โรคและแมลงศัตรูอินทผาลัมโรคอินทผาลัม

โรคใบไหม้

  • สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis
  • อาการของโรคใบไหม้
    เกิดแผลรูปร่างกลมรีที่มีรอยบุ๋มตรงกลางเนื้อแผลสีน้ำตาล ขอบแผลนูน มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล ความยาวของแผลประมาณ 7 ถึง 8 มิลลิเมตร ในขั้นรุนแรง แผลขยายตัวรวมกันทำให้ใบแห้งม้วนงอ เปราะ และฉีกขาดง่าย ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต และตายได้
การป้องกันและกำจัด
  • เผาทำลายใบและต้นที่เป็นโรค
  • ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ไม่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น ไทแรม 75 เปอร์เซ็นต์ WP อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5 ถึง 7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด

โรคยอดเน่า
พบระบาดมากในฤดูฝน โรคนี้สามารถเข้าทำลายต้นอินทผาลัมตั้งแต่ในระยะต้นกล้า และพบมากกับต้นอินทผาลัมที่มีอายุ 1 ถึง 3 ปี

  • สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากเชื้อโรคใด แต่จากการแยกเชื้อพบเชื้อโรคพืชหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกเชื้อราฟิวซาเรียม (Fusarium spp.) และเชื้อแบคทีเรียพวกเออร์วิเนีย (Erwinia sp.)
  • อาการของโรคยอดเน่า
    เกิดแผลเน่าสีน้ำตาลดำ ขอบแผลฉ่ำน้ำที่บริเวณใกล้ๆ โคนใบยอดที่ยังไม่คลี่ บางครั้งอาการเน่าดำจะเริ่มจากปลายใบย่อยที่ยังไม่คลี่ จากนั้นแผลเน่าดำจะขยายทำให้ใบยอดทั้งใบเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย

การป้องกันและกำจัด

  • หมั่นกำจัดวัชพืช อย่าให้ปกคลุมบริเวณโคนต้นอินทผาลัม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงที่จะไปกัดบริเวณส่วนยอด ทำให้เกิดแผลซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายยอดได้ง่ายขึ้น
  • หากพบการระบาดของโรคนี้ ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วใช้สารไทแรม (Thiram) ในอัตรา 130 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซ็บ (Mancozeb) ในอัตรา 150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบทุกๆ 5 ถึง 7 วัน ราดบริเวณกรวยยอดของต้นที่เป็นโรค

โรคใบจุด

  • สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Graphiola phoenicis แหล่งระบาดเชื้อราของโรคนี้สามารถเกิดได้ทุกภูมิภาคที่มีการปลูกพืชปาล์มตระกูล จากการศึกษาโรคชนิดนี้ในรัฐฟลอริด้า พืชตระกูลปาล์มทุกชนิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเชื้อราชนิดนี้ แต่จะเกิดมากที่สุดกับปาล์ม 2 ตระกูล คือ ตระกูล Phoenix canariensis (ปาล์มประดับ Canary lsland) และตระกูล Phoenix dactylifera (อินทผาลัมพันธุ์รับประทานผล)
  • อาการของโรคใบจุด
    สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย คือ จุดสีเหลือง หรือสีน้ำตาล หรือสีดำ ทั้งสองข้างของใบ อาการเริ่มแรกนี้ หากไม่สังเกตอย่างละเอียดแทบมองไม่เห็นเลย เชื้อราจะเริ่มโผล่มาจากเส้นใยของผิวใบ เมื่อเชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตมากขึ้น จะเริ่มปรากฏให้เห็นบริเวณผิวใบที่ได้รับผลกระทบซึ่งมีขนาดเล็กมาก จะเป็นจุดสีดำบนผิวใบ ลักษณะคล้ายอาการของการขาดธาตุโพแทสเซียม เชื้อราจะทะลุใบขึ้นมามีลักษณะเหมือนรูปถ้วย มีเส้นใยเล็กๆ สีเหลือง คล้ายเส้นด้ายโผล่ขึ้นมา เพื่อช่วยกระจายสปอร์ออกไป เมื่อกระจายสปอร์ออกไปแล้วเส้นใยเล็กๆ จะยุบลงเป็นสีดำ และเมื่อโรคได้ระบาดเต็มที่แล้ว ผงจุดที่โผล่ขึ้นมาจะมองเห็นชัดเจน รวมทั้งสามารถสัมผัสได้ด้วยมือ อาการของโรคชนิดนี้เมื่อเกิดแล้วเป็นเพียงแค่บนจุดบนผิวใบเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้น

การป้องกันและกำจัด

  • กำจัดด้วยยาฆ่าเชื้อรา เมธิล, คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์ ฉีดพ่นทางใบ
หนอนหน้าแมว
เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มหนอนร่านชนิดหนึ่ง และมีความสำคัญอย่างมาก สามารถทำให้อินทผาลัมเสียหายอย่างรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดขึ้น หนอนหน้าแมวจะกัดทำลายใบจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต หนอนหน้าแมวมีระยะไข่ 4 ถึง 5 วัน ระยะหนอน 30 ถึง 40 วัน ระยะดักแด้ 9 ถึง 14 วัน ระยะตัวเต็มวัย 6 ถึง 11 วัน

การป้องกันและกำจัด

  • หมั่นสำรวจต้นอินทผาลัมให้ทั่วพื้นที่เป็นประจำ เพื่อวางแผนการกำจัดไม่ให้แมลงขยายพันธุ์ เพิ่มขึ้น
  • จับแมลงทำลายโดยตรง เช่น จับผีเสื้อในเวลากลางวัน เก็บดักแด้ และถ้าพบหนอนปริมาณน้อยให้ทำกำจัดทำลายโดยตรงทันที
  • สามารถใช้กับดักแสงไฟนีออนสีขาว หรือหลอด Black Light วางเหนืออ่างพลาสติกที่มีน้ำผสมผงซักฟอก โดยให้หลอดไฟอยู่ห่างจากน้ำประมาณ 5 ถึง 10 เซนติเมตร ดักผีเสื้อในช่วงเวลา 18.00 ถึง 19.00 น.
  • เลือกใช้สารเคมีฆ่าแมลงที่มีผลกระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ต่อต้นอินทผาลัมน้อยที่สุด

ด้วงกุหลาบ
เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก สีน้ำตาล ตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น โดยกัดทำลายใบของต้นอินทผาลัมขนาดเล็กที่เพิ่งปลูกใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการบุกเบิกใหม่ ในขั้นรุนแรง ใบจะถูกทำลายจนหมดเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันและกำจัด

  • ใช้สารฆ่าแมลงประเภทคาร์บาริล (เซฟวิน 85 เปอร์เซ็นต์ WP) ในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร คาร์โบซัลแฟน (Posse 20 เปอร์เซ็นต์ EC) ในอัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 ถึง 10 วัน

ด้วงแรด
ตัวเต็มวัยของด้วงชนิดนี้จะเจาะใบอินทผาลัมที่บริเวณโคนทางใบที่ 2 หรือที่ 3 ทะลุเข้าไปถึงยอดอ่อนตรงกลาง หรือทำลายบริเวณยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ทำให้ใบอินทผาลัมที่คลี่แตกใบใหม่ขาดแหว่ง เป็นสามเหลี่ยมคล้ายถูกกรรไกรตัด ถ้าด้วงกัดกินทางใบจะทำให้ทางใบพับ ต้นอินทผาลัมชะงักการเจริญเติบโต และอาจเป็นเหตุให้โรคและแมลงศัตรูชนิดอื่นเข้าทำลายต่อไป

การป้องกันและกำจัด

  • โดยวิธีเขตกรรม คือ การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยการเผา หรือฝังซากตอหรือลำต้นของอินทผาลัม และเกลี่ยกองซากพืชหรือกองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความหนาไม่เกิน 15 เซนติเมตร
  • ใช้เชื้อราเขียว (Metarhizium anisopliae) สร้างกับดักราเขียวโดยใช้ขุยอินทผาลัมที่หมักแล้ว ผสมกับหัวเชื้อราเขียวเพื่อล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนจะถูกเชื้อราเขียวเข้าทำลายและตายในที่สุด
  • ใช้ทรายหรือสารคาร์บาริล (เซฟวิน 85 เปอร์เซ็นต์WP) ผสมขี้เลื่อยในอัตรา สารฆ่าแมลง 1 ส่วน ต่อ ขี้เลื่อย 33 ส่วน ใส่รอบยอดอ่อน ซอกโคนทางใบเดือนละครั้ง หรืออาจใช้ ลูกเหม็นจำนวน 6 ถึง 8 ลูกต่อต้น ใส่ไว้ในซอกโคนทางใบ
  • กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ และกำจัดที่อยู่ของไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้น ตอของต้นปาล์ม ซากชิ้นส่วนของพืชที่เน่าเปื่อย กองปุ๋ยหมัก กองปุ๋ยคอก ซากทะลายอินทผาลัม และกองขยะเป็นต้น ใช้ฮอร์โมนเพศ (ฟีโรโมน) เป็นกับดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย

ด้วงงวงมะพร้าว
ด้วงงวงมะพร้าวจะขยายพันธุ์อยู่ภายในคอต้นอินทผาลัม และโคนลำต้น ทำให้ต้นตาย
อาการบ่งชี้ที่แสดงว่าต้นถูกด้วงงวงทำลาย คือ ยอดอ่อนเหี่ยวแห้งใบเหลือง

การป้องกันและกำจัด

  • ป้องกันและกำจัดด้วงแรดอย่าให้เข้าทำลายอินทผาลัม เพราะรอยแผลที่ด้วงแรดเจาะจะเป็นช่องทางให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้าวางไข่และทำลายจนต้นตายได้
  • หมั่นตรวจสอบด้วงมะพร้าวตามยอดหรือลำต้น
  • ทำความสะอาดลำต้นและตัดใบแห้งแก่ไปกำจัดทิ้ง อาจใช้สารอินทรีย์ชีวภาพราด เช่น EM เพื่อให้ขุยเยื่อย่อยสลายได้ง่าย ไม่เป็นที่วางไข่ด้วงหรือใช้สารเคมี เช่น ฟูราดาน หว่านในช่วงที่มีการระบาด
  • ถ้าพบรอยแผลรอยเจาะและยอดอ่อนที่ยังไม่เหี่ยว ให้ใช้เหล็กยาวปลายเป็นตะขอแทงเข้าไปเกี่ยวเอาตัวหนอนทำลาย และทาบริเวณรอยดังกล่าวด้วยสารทาร์ ซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำมันเครื่อง 1 ลิตร ผสมกับกำมะถันผง 100 กรัม คนให้เข้ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ด้วงงวงเข้าทำลายซ้ำ
    ดูแลทำความสะอาดแปลงอินทผาลัม ถ้าพบมีการทำลายให้ใช้สารฆ่าแมลง เช่น คลอร์ไพริฟอส (ลอร์สแบน 40 เปอร์เซ็นต์ EC) ในอัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำลายต้นอินทผาลัมที่มีหนอนด้วงงวงอยู่ หรือทำลายตัวหนอนเพื่อมิให้แพร่พันธุ์ต่อไป
(แหล่งข้อมูล : www.datepalm.in.th, www.idatepalm.com)
 
สวนอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสุพรรณบุรี
ที่อยู่ : 22 หมู่ 4 บ้านท่าเตียน ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี 72120
082-8936-978 0828936978 สวนอินทผลัม

Not reserved

Free Web Hosting